A107 ตอกเสาเข็ม

7 ขั้นตอนในการทำงานเสาเข็มตอก

1. ตรวจสอบตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก แล้วจึงเคลื่อนย้ายปั้นจั่นตอกเสาเข็ม มาประกอบในสถานที่ก่อสร้าง เพื่อเตรียมการตอกเสาเข็ม

2. วิศวกรควบคุมงานควรวางแผนในการตอกและเคลื่อนย้ายเสาเข็มโดยให้มีการตอกเสาเข็มได้อย่างต่อเนื่องและเคลื่อนที่ปั้นจั่นตอกให้น้อยที่สุด

3. เมื่อติดตั้งปั้นจั่นเรียบร้อยแล้ว จึงทำการยกเสาเข็มขึ้นเพื่อเตรียมตอก ในขั้นตอนนี้ต้องระวังเพราะเสาเข็มอาจเสียหายได้

4. ก่อนจะลงมือตอกเสาเข็ม ต้องตรวจสอบความได้ดิ่งของเสาเข็มทั้งสองด้านของเสาเข็มว่าได้ดิ่งและตั้งตรงกับตำแหน่งการตอกเสาเข็มหรือไม่
เมื่อเสาเข็มได้ดิ่งแล้วให้ทำเครื่องหมายในแนวราบเพื่อไว้ตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มระหว่างตอก

5. ทำการตอกเสาเข็มโดยใช้ลูกตุ้มแบบปล่อยตก (Drop Hammer) ลูกตุ้มมีขนาดตั้งแต่ 2.5-7 ตัน การเลือกใช้ลุกตุ้มอยู่ระหว่าง 0.70-2.5 เท่า
ของน้ำหนักเสาเข็ม ระยะยกลูกตุ้มโดยทั่วไปมีระยะ 30-80 ซม. ในการตอกเสาเข็มต้องมีหมวกเสาเข็มเพื่อป้องกันการแตกร้าว และเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการส่งถ่ายแรงในกรณีที่เสาเข็มมีความยาวมากๆ ต้องมีการต่อเสาเข็มโดยใช้แผ่นเหล็กเชื่อมรอบให้แข็งแรง

6. การนับจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม (Blow Count) เพื่อหาความหนาแน่นของชั้นดินหรือชั้นดินที่รับน้ำหนักบรรทุกของบ้านหรืออาคารได้
และจะทำการหยุดการตอกเสาเข็มแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

6.1 การนับการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เป็นการตรวจสอบระยะจมของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้ายว่าจมลงไปไม่มากกว่าหรือเท่ากับค่า
ที่คำนวณได้ โดยคำนวณจากสูตรในตารางที่ หากได้ตามที่คำนวณก็ให้ยุติการตอก ในกรณีนี้ผู้ควบคุมงานต้องคอยดูการปล่อยลูกตุ้มต้องปล่อย
อย่างเสรีโดยสังเกตจากเชือกเวลาลูกตุ้มกระทบหัวเสาเข็ม เชือกจะหย่อน ถ้าเชือกตึงแสดงว่าไม่ปล่อยลูกตุ้มอย่างเสรี ให้ทำการนับใหม่จนได้

6.2 Blow Count เป็นการนับจำนวนครั้งที่ตอกเสาเข็มจมลง 0.30 ม. หรือ 1 ฟุต ซึ่งจะทำระยะในการนับ Blow Count ในกรณีที่ตอกเสาเข็มได้
โดยไม่ต้องใช้เสาส่งให้ทำเครื่องหมายทุกระยะ 1 ฟุต ในช่วง 3 เมตรสุดท้ายของโคนเสาเข็ม ถ้าต้องใช้เสาส่งให้ทำเครื่องหมายทุกระยะ 1 ฟุต
ในช่วง 1.5 เมตรสุดท้ายของโคนเสาเข็ม หรือขึ้นอยู่กับเสาเข็มที่จะส่งลงไป หากเห็นว่าจำนวนครั้งในการตอกสูงเกินไปอาจทำให้เสาเข็มเสียหายได้
อาจสั่งให้ตรวจสอบ Last Ten Blow หากการจมลงของเสาเข็มได้ตามค่าที่คำนวณได้ก็ยุติการตอก บางครั้งจำนวนครั้งในการตอกในช่วง 0.30 ม.
อาจลดลงผิดปกติ อาจจะเป็นเพราะเสาเข็มหักหรือเสาเข็มทะลุลงไปถึงชั้นดินอ่อน ในกรณีเหล่านี้ผู้ควบคุมงานจะต้องทำการบันทึก
แล้วจึงรายงานให้วิศวกรผู้รับผิดชอบทราบทันที

7. เมื่อตรวจสอบ Blow Counts เรียบร้อยแล้ว แสดงว่าเสาเข็มอยู่ที่ความลึกที่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ เป็นการเสร็จสิ้นการตอกเสาเข็ม

บริการเสาเข็มเจาะทุกขนาด ดูหน้างาน ให้คำปรึกษาฟรี การันตีคุณภาพ ราคาย่อมเยาว์ เน้นความต้องการของลูกค้า ได้รับการรับรองมาตรฐาน รับประกันความพอใจ ราคายุติธรรม บริการเยี่ยมเสาเข็มแบบใหม่  ไมโครไพล์ เสาเข็มเจาะ เสาเข็ม เสาเข็มเจาะ ตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม ไมโครไพล์ เสาเข็มเจาะ 

                       ติดต่อสอบถาม

ใส่ความเห็น