A122 รับจัดบายศรี

วิธีการทำบายศรีปากชาม

ประวัติบายศรี
“บายศรี”นั้นสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจาก ลัทธิพราหมณ์ ซึ่งเข้ามา ทางเขมร ทั้งนี้เพราะ
คำว่า “ บาย ” ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส
ส่วนคำว่า “ศรี” มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับ ภาษาบาลีว่า “ สิริ ” แปลว่า มิ่งขวัญ ดังนั้น
คำว่า “บายศรี” หน้าจะ แปลได้ว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่น่าสัมผัส กับความดีงาม “ บายศรี ”
ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็นสิริ, ขวัญข้าว หรือ
ภาชนะที่จัดตกแต่งให้สวยงามเป็นพิเศษ ด้วยใบตอง และดอกไม้สด เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวา
นในพิธีสังเวยบูชา และพิธีทำขวัญต่างๆ สมัยโบราณ มีการเรียกพิธี สู่ขวัญว่า “ บาศรี ”
ทั้งนี้สืบเนื่อง มาจากเป็นพิธี สำหรับบุคคล ชั้นเจ้านาย เพราะคำว่า “บา”
เป็นภาษาโบราณ อีสานใช้เป็น คำนำหน้า เรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น
ส่วนคำว่า “ ศรี ” หมายถึง ผู้หญิงและ สิ่งที่เป็นสิริมงคล “ บาศรี ”
จึงหมายถึง การทำพิธีที่ เป็นสิริมงคล แต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียก
กันแล้ว มักนิยมเรียกว่า “ บายศรี ” บายศรีจะเรียก เป็นองค์ มีหลายประเภท
เช่น บายศรีปากชาม บายศรีเทพ บายศรีพรหม เป็นต้น ส่วนต่างๆ
ที่ประกอบกันเป็นบายศรีมีความหมายในทางดี เช่น กรวยข้าว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ใบชัยพฤกษ์

รับจัดพานบายศรี
รับจัดบายศรี
รับจัดบายศรีเทพ
รับจัดงานแต่งที่บ้าน
รับจัดบายศรีงานแต่ง
พิธีบายศรีสู่ขวัญงานแต่งงาน
งานแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง
ผลงานของเรา

                     ติดต่อช่างทำบายศรี

ใส่ความเห็น